วันศุกร์ที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑

เส้นทางศึกษาธรรมชาติใน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี
เส้นทางศึกษาธรรมชาติใน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี

เส้นทางศึกษาธรรมชาติมีหลายเส้นทางตั้งแต่ระยะทางประมาณ 800 เมตร ถึง 1,500 เมตร เส้นทางไม่สูงชันมากนัก อยู่บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ควรติดต่อผู้นำเที่ยวธรรมชาติก่อนล่วงหน้า เพื่อจะอธิบายให้เห็นถึงคุณค่าของพันธุ์ไม้นานาพันธุ์ ที่มีประโยชน์ต่อทั้งคนและสัตว์ป่า เช่น ต้นเกตุ ต้นไม้ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผลมีสีเหลือง สามารถรับประทานได้ เนื้อไม้นำไปใช้ในการทำเฟอร์นิเจอร์ นอกจากนี้ภายในเส้นทางได้จัดทำป้ายชื่อที่บอกถึงชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ เช่น กล้วยไม้่ ต้นไม้ นก และผีเสื้อต่

คุ้มเจ้าหลวง อยู่ที่ถนนคุ้มเดิม ปัจจุบันคือจวนผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2435 โดยเจ้าหลวงพิริยะชัยเทพวงศ์ คุ้มแห่งนี้เป็นอาคารที่หรูหราสง่างาม และโอ่โถง คือ มีประตู หน้าต่างทั้งหมด 72 บาน งดงามด้วยลวดลายฉลุไม้อยู่ด้านบนปั้นลม และชายคาน้ำ รอบตัวอาคารประดับด้วยลวดลายไม้แกะฉลุ ตัวอาคารสร้างด้วยอิฐถือปูนทั้ง 2 ชั้น ไม่มีการฝังเสาเข็มแต่ใช้ไม้ซุงท่อนเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ประดู่รองรับฐานเสาทั้งหลัง ห้องกลางเป็นห้องทึบแสงสว่างส่องเข้าไปไม่ได้ ใช้เป็นที่คุมขังทาส บริวารที่ทำผิดร้ายแรง ส่วนห้องทางปีกซ้าย และขวามีช่องพอให้แสงส่องเข้าไปได้บ้าง ใช้เป็นที่คุมขังผู้มีความผิดขั้นลหุโทษ คุ้มเจ้าหลวงเคยใช้เป็นที่ประทับแรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เมื่อคราวที่เสด็จมาเยี่ยมเยียนราษฎรจังหวัดแพร่ ในระหว่างวันที่ 15 – 17 มีนาคม 2501 และได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีให้เป็นสถาปัตยกรรมดีเด่นประเภทอาคารสถาบัน และสาธารณะ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2536 เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม โดยต้องทำหนังสือขออนุญาตเข้าชมล่วงหน้า ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ หรือติดต่อทางโทรศัพท์แจ้งล่วงหน้าได้ที่ สำนักงานจังหวัดแพร่ โทร. (054) 51141

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช



พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ถนนราชดำเนิน ตรงข้ามวัดสวนหลวง ตำบลในเมือง เป็นอาคารทรงไทย 2 ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2514 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเปิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2517 บริเวณโดยรอบพิพิธภัณฑสถานฯ ร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ ภายในอาคารจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบในจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียง โบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ศิลปะสมัยทวารวดีจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เครื่องถ้วยจีน เครื่องถ้วยอันนัม (ญวณ) เครื่องสังคโลก เงินตราสมัยต่าง ๆ ศิลปพื้นบ้านภาคใต้ หนังตะลุง มโหรสพพื้นบ้านภาคใต้ เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิตของคนภาคใต้ ได้แก่ เครื่องมือในการทำนา เครื่องทอผ้า อุปกรณ์การกรีดยาง รากไม้แก้วแกะสลักเป็นรูปสัตว์กว่าร้อยชนิดอยู่รวมกันเป็นฝีมือของ นายอ่ำ ศรีสัมพุทธ ซึ่งได้รับรางวัลที่ 1 ประเภทงานแกะสลักของจังหวัดในงานเดือนสิบ และมรดกดีเด่นของจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ พนักกันยา เรือพระที่นั่งทำด้วยแผ่นเงินขนาดใหญ่ถมทองอย่างสวยงามถือว่าเป็นถมทองชิ้นเยี่ยมที่สุดและใหญ่ที่สุดในจังหวัดนครศรีธรรมราช และยังมี หน้าบันไม้จำหลักภาพเทพรำศิลปะภาคใต้ เครื่องถม เครื่องทองเหลือง ผ้ายกเมืองนครศรีธรรมราช รถม้าโบราณ เป็นต้น เปิดให้เข้าชมทุกวันพุธ –วันอาทิตย์ เว้นวันจันทร์-วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 09.00–16.00 น. ค่าเข้าชมคนไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000 โทร. 0 7534 1075, 0 7534 0419, 0 7535 6229 โทรสาร 0 7534 0419 www.thailandmuseum.com

ประวัติส่วนตัว